สารพิษในชีวิตประจำวัน(สารปรอท)

 สารปรอท

 

ทั่วไป
ชื่อสัญลักษณ์เลขอะตอม ปรอท, Hg, 80
อนุกรมเคมี โลหะทรานซิชัน
หมู่คาบบล็อก 126d
ลักษณะ silvery white
Hg,80.jpg
มวลอะตอม 200.59 (2) กรัม/โมล
การจัดเรียงอิเล็กตรอน [Xe] 4f14 5d10 6s2
อิเล็กตรอนต่อระดับพลังงาน 2, 8, 18, 32, 18, 2
คุณสมบัติทางกายภาพ
สถานะ ของเหลว
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) (ของเหลว) 13.534 ก./ซม.³
จุดหลอมเหลว 234.32 K
(-38.83 °C)
จุดเดือด 629.88 K(356.73 °C)
ความร้อนของการหลอมเหลว 2.29 กิโลจูล/โมล
ความร้อนของการกลายเป็นไอ 59.11 กิโลจูล/โมล
ความร้อนจำเพาะ (25 °C) 27.983 J/(mol·K)
ความดันไอ
P/Pa 1 10 100 1 k 10 k 100 k
ที่ T K 315 350 393 449 523 629
คุณสมบัติของอะตอม
โครงสร้างผลึก rhombohedral
สถานะออกซิเดชัน 2, 1
(ออกไซด์เป็นเบสปานกลาง)
อิเล็กโตรเนกาติวิตี 2.00 (พอลิงสเกล)
พลังงานไอออไนเซชัน ระดับที่ 1: 1007.1 กิโลจูล/โมล
ระดับที่ 2: 1810 กิโลจูล/โมล
ระดับที่ 3: 3300 กิโลจูล/โมล
รัศมีอะตอม 150 pm
รัศมีอะตอม (คำนวณ) 171 pm
รัศมีโควาเลนต์ 149 pm
รัศมีวานเดอร์วาลส์ 155 pm
อื่น ๆ
การจัดเรียงทางแม่เหล็ก diamagnetic
ความต้านทานไฟฟ้า (25 °C) 961 nΩ·m
การนำความร้อน (300 K) 8.30 W/(m·K)
การขยายตัวจากความร้อน (25 °C) 60.4 µm/(m·K)
อัตราเร็วของเสียง (ของเหลว, 20 °C) 1451.4 m/s
เลขทะเบียน CAS 7439-97-6
ไอโซโทปที่น่าสนใจ
บทความหลัก: ไอโซโทปของปรอท
iso NA ครึ่งชีวิต DM DE (MeV) DP
194Hg syn 444 y ε 0.040 194Au
195Hg syn 9.9 h ε 1.510 195Au
196Hg 0.15% Hg เสถียร โดยมี 116 นิวตรอน
197Hg syn 64.14 h ε 0.600 197Au
198Hg 9.97% Hg เสถียร โดยมี 118 นิวตรอน
199Hg 16.87% Hg เสถียร โดยมี 119 นิวตรอน
200Hg 23.1% Hg เสถียร โดยมี 120 นิวตรอน
201Hg 13.18% Hg เสถียร โดยมี 121 นิวตรอน
202Hg 29.86% Hg เสถียร โดยมี 122 นิวตรอน
203Hg syn 46.612 d β 0.492 203Tl
204Hg 6.87% Hg เสถียร โดยมี 124 นิวตรอน

เราสามารถนำปรอทมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภท ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องวัดอุณหภูมิและความดัน การย้อมสี การผลิตเยื่อกระดาษ พลาสติก เภสัชภัณฑ์ อุปกรณ์ในการถ่ายรูป อุปกรณ์ไฟฟ้า สารฆ่าแมลงและยาฆ่าเชื้อ นอกจากนี้ เนื่องจากว่าปรอทมีจุดเดือดไม่สูงนัก จึงได้มีการทดลองนำเมอคิวริคออกไซด์มาผลิดเป็นออกซิเจนบริสุทธิ์อีกด้วย

ประโยชน์

ปรอทมักจะใช้ในการผลิตเคมีทางอุตสาหกรรม หรือในการประยุกต์ทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปรอทใช้ในเทอร์มอมิเตอร์บางชนิด โดยเฉพาะที่ใช้วัดอุณหภูมิสูง (ในสหรัฐฯ บางรัฐและท้องถิ่นห้ามการขายปรอทวัดไข้โดยไม่มีใบสั่งแพทย์) การใช้อื่นๆ นอกจากนี้มีเช่น

การใช้อื่นๆ
สวิตช์ปรอท ขั้วไฟฟ้าสำหรับการ การแยกสารด้วยกระแสไฟฟ้าบางชนิด ถ่านไฟฟ้า (ถ่านไฟปรอทรวมถึงสำหรับการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์และคลอรีน และถ่านอัลคาไลน์) , คะตาลิสต์ ยาฆ่าแมลง โลหะอุดฟัน และ กล้องโทรทรรศน์กระจกเหลว (liquid mirror)
การใช้ในอดีต
ป้องกันไม้ ล้างรูปดาแกร์โรไทป์ (daguerreotypes) เคลือบกระจกเงา สีสำหรับป้องกันเรือสกปรก (ยกเลิกเมื่อ พ.ศ. 2533) , ยาฆ่าพืช (ยกเลิกเมื่อ พ.ศ. 2538) การทำความสะอาด และเครื่องปรับระกับในรถยนต์ สารประกอบของปรอทได้เคยใช้ใน ยาฆ่าเชื้อโรค ยาถ่าย ยาแก้ซึม และ ยาแก้โรคซิฟิลิส. นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวหาว่า สายลับพันธมิตรชาติตะวันตกใช้ปรอทเพื่อก่อวินาศกรรมเครื่องบินของเยอรมัน โดยทาปรอทไว้บนอะลูมิเนียมเปลือย ทำให้โลหะสึกกร่อนอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความเสียหายทางโครงสร้างอย่างไม่ทราบสาเหตุ
ปรอทเป็นโลหะสีขาวคล้ายเงิน เป็นของเหลวที่อุณหภูมิปกติ สามารถทำให้เป็นของแข็งได้แต่เปราะที่อุณหภูมิปกติ ปรอทสามารถระเหยกลายเป็นไอได้ ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ง่ายขึ้น

 

ประโยชน์ของปรอท 

      – ใช้ในการทำเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เช่น เทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ ปั๊มดูดอากาศ และเครื่องมือที่ใช้วัดความดันโลหิต
– ใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า เช่น สวิตช์อัตโนมัติสำหรับตู้เย็นและไฟฟ้ากระแสตรง
– สารประกอบของปรอทใช้ในการทำวัตถุระเบิด
– ซัลไฟด์ของปรอทใช้ทำสีแดงในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผา
– ออกไซด์ของปรอทใช้ในการทำสี เพื่อป้องกันมิให้แตกและลอกง่าย สำหรับนำไปใช้ทาใต้ท้องเรือ
– ปรอทเป็นตัวทำละลายที่ดีสำหรับโลหะบางชนิด สารละลายที่ได้เรียกว่าอะมาลกัม ดีบุกอะมาลกัมใช้ในการทำกระจกเงา เงิน-ดีบุกอะมาลกัมใช้เป็นวัสดุในการอุดฟัน โดยผสมปรอทกับโลหะผมระหว่างเงินกับดีบุก
– ใช้ในอุตสาหกรรมทำหมวกสักหลาด

 

 
การเข้าสู่ร่างกาย

 

      ปรอทสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทาง เช่นเดียวกับสารพิษชนิดอื่นๆ คือ
1.ทางปาก โดยสูดเอาผง หรือไอปรอทเข้าสู่ปอด เนื่องจากปรอทสามารถระเหยกลายเป็นไอได้ง่าย
2.ทางปาก โดยการรับประทานเข้าไป มักเกิดจากอุบัติเหตุปะปนกับอาหารหรือน้ำดื่ม
3.ทางผิวหนัง โดยการดูดซึม ไอระเหยหรือฝุ่นละอองของปรอททำให้ผิวหนังระคายเคืองเกิดโรคผิวหนังได้

 

พิษของปรอท

 

      ปรอทจะทำอันตรายต่อร่างกายมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และปัจจัยดังนี้
1.ทางที่พิษเข้าสู่ร่างกาย เช่น ทางผิวหนัง ทางระบบหายใจ หรือทางระบบย่อยอาหาร
2.ปริมาณที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย
3.ชนิดของสารปรอทที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายและอวัยวะส่วนใดของร่างกายที่ได้รับพิษของปรอทในรูปเมทธิลหรืออัลคิล เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีพิษมากที่สุด

 

อาการพิษเกิดจากปรอท

 

      การเกิดพิษจากสารปรอทมีทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง พิษชนิดเฉียบพลันมักเกิดจากอุบัติเหตุโดยการกลืนกินสารปรอทเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งปริมาณปกติที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายและทำให้คนตายได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 0.02 กรัม อาการที่เกิดจากการกลืนกินปรอท คือ
-อาเจียน ปากพอง แดงไหม้ อักเสบและเนื้อเยื่ออาจหลุดออกมาเป็นชิ้นๆ
-เลือดออก ปวดท้องอย่างแรง เนื่องจากปรอทกัดระบบทางเดินอาหาร
-มีอาการท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระเป็นเลือด
-เป็นลม สลบเนื่องจากร่างกายเสียเลือดมาก
-เมื่อเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิต ปรอทจะไปทำลายไต ทำให้ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะเป็นเลือด
-ตายในที่สุด

 

พิษชนิดเรื้อรัง

 

      ปรอทเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งได้แก่ สมอง และไขสันหลัง ทำให้เสียการควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของแขน ขา การพูด และยังทำให้ระบบประสาทรับความรู้สึกเสียไป เช่น การได้ยิน การมองเห็น ซึ่งอันตรายเหล่านี้ เมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้กลับดีดังเดิมได้ อาการที่เป็นพิษมากเกิดจากการหายใจ ปอดอักเสบ มีอาการเจ็บหน้าอก มีไข้ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกและตายได้

 

การป้องกันอันตรายจากปรอท

 

      -ใช้สารอื่นที่เป็นพิษน้อยกว่าแทนสารปรอท เช่น ใช้สารแอมโมเนียของเงินแทนสารประกอบของปรอทในการทำกระจกเงา
-ในกรณีที่มีการรั่วของปรอทให้นำภาชนะที่มีน้ำมารองรับเพื่อป้องกันการระเหยของปรอท
-สวมเสื้อคลุมและถุงมือ เมื่อต้องจับหรือสัมผัสปรอท
-จัดให้มีการระบายอากาศในบริเวณที่ต้องใช้ปรอทเพื่อดูดเอาไอของปรอทที่กระจายอยู่ในบรรยากาศออกไปและทำการกักเก็บมิให้ฟุ้งกระจายไปยังที่อื่น เพื่อให้อากาศในบริเวณพื้นที่ใช้งานบริสุทธิ์ หรือควรมีการกำจัดปรอทอินทรีย์จากโรงงานอุตสาหกรรมที่ถูกต้อง
-ตรวจสอบหาปริมาณของปรอทในบรรยากาศบริเวณใช้งานให้อยู่ในมาตรฐานที่ควบคุมอยู่เสมอ
-สารปรอทและสารประกอบของปรอทควรเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทเพื่อป้องกันการระเหยของปรอท

 

      ตัวอย่างเหตุการณ์พิษจากปรอท เช่น โรคมินามาตะ ในปี ค.ศ.1959 เป็นภาวะมลพิษที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งชื่อ โรคมินามาตะ มาจากชื่อของหมู่บ้านเล็กๆบนเกาะทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นชาวประมง แต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตปุ๋ยเคมี และสารเคมีชื่อว่า บริษัทนิปปอนชิมโสะ คนในหมู่บ้านส่วนหนึ่งทำงานอยู่ในโรงงานนี้ ต่อมาเกิดโรคประหลาดขึ้นกับคนในหมู่บ้านแห่งนี้จนกลายเป็นข่าวดังไปทั่วโลก เมื่อมีผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการเดิน เซ ไม่สามารถยืนได้ด้วยด้วยเอง ชาตามแขนขา หูตึง มองเห็นภาพแคบลง พูดไม่ชัด มือสั่น กลืนอาหารลำบาก บางครั้งจะแสดงอาการคลุ้มคลั่ง และมักจะส่งเสียงดังตะโกนคล้ายคนบ้าตลอดเวลา มีอาการนอนไม่หลับ ชักบ่อยๆ แขนขาบิดเบี้ยวคล้ายคนพิการ เพราะกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกายทำงานไม่ประสานกัน อาการทุกอย่างจะรุนแรงขึ้นและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งแพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคอะไร และจากการสังเกตเห็นความผิดปกติของสัตว์บริเวณนั้น คือ ปลาว่ายน้ำแบบนอนหงายท้องขึ้นและว่ายน้ำช้าลงจนามารถจับได้ด้วยมือเปล่า นกทะเลว่ายน้ำจะบินดิ่งหัวตกทะเล แมวซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านก็มีอาการเซ น้ำลายไหล ชัก และตายในเวลาต่อมาจึงเรียกอาการดังกล่าวว่า “โรคแมวเต้น” ดังนั้นจึงสันนิษฐานกันว่าโรคนี้น่าจะเกิดจากสารเคมี ที่สะสมอยู่ในสัตว์ทะเล และเมื่อคนรับประทานอาหารทะเลเข้าไป ก็จะส่งผลกับร่างกาย หลังจากได้มีการทดลองกับสัตว์และคน ผลที่ได้สามารถสรุปได้ตามที่สันนิษฐานไว้ ในเวลาต่อมาได้มีการนำดินจากบริเวณที่ทิ้งน้ำเสียของโรงงานมาตรวจ พบว่ามีสารปรอทอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งตรงกับการตรวจพบสารปรอทในอวัยวะส่วนต่างๆ ของผู้ป่วยที่ตายจึงสามารถสรุปได้ว่า โรคมินามาตะ เกิดจากผู้ป่วยได้รับสารปรอทอินทรีย์ที่เกิดจากโรงงานปล่อยน้ำเสียที่มีสารปรอทปนเปื้อนดังที่กล่าวมา โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องจากสารปรอทได้เข้าทำลายระบบประสาท และสมอง นอกจากนี้ยังมีผลต่อทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา กล่าวคือ มารดาที่รับประทานอาหารทะเลที่ปนเปื้อนสารปรอทเข้าไปแล้ว สารปรอทจะผ่านไปทางรกเข้าสู่สมองเด็ก ทำให้เด็กที่เกิดมามีอาการพิการทางสมองตั้งแต่เกิด เด็กจะมีอาการปัญญาอ่อน

 

      รัฐบาลญี่ปุ่นได้นำประสบการณ์ที่ขมขื่นจาดโรคมินามาตะ มาเป็นพื้นฐานในการเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ทั้งนี้ความสูญเสียอย่างมหาศาลที่เกิดขึ้น เพราะการพัฒนาประเทศได้มั่งเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมทำให้ไม่เพียงสูญเสียชีวิตมนุษย์แต่ยังทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย

 

Download ข้อสอบ และ เฉลย GAT-PAT 1/2554

ข้อสอบมาแล้วจ้า  มาดูข้อสอบกันชัด ๆ ๆ อีกสักรอบ

ก่อน ที่จะได้เห็นคะแนนในเร็ว ๆ นี้  >>…..<<

มาจับผิดข้อสอบด้วยนะ ข้อไหนผิดจะได้ร้องเรียน ขอคะแนนฟรี

โหลดได้ที่หน้าเว็บ สทศ เลยจ้า

GAT 1  Download

GAT 2  Download

PAT    Download

เฉลยข้อสอบ http://www.niets.or.th/upload-files/uploadfile/1/9be68fd865574bbbc9ae2d12d08fe6e8.pdf

หรือ

http://www.niets.or.th/

จากเว็บ  http://www.unigang.com/Article/6562

ข้อสอบและเฉลย GAT เชื่อมโยง , ภาษาอังกฤษ 2552-2555

ข้อสอบ GAT เชื่อมโยง  พร้อมเฉลยจ้า !!

ครั้งที่ ข้อสอบ เฉลย
1 มีนาคม 52
2 กรกฎาคม 52  
3 ตุลาคม 52  
4 มีนาคม 53  
5 กรกฎาคม 53  
6 ตุลาคม 53  
7 มีนาคม 54  
8 ตุลาคม 54
9 มีนาคม 55
10 ตุลาคม 55
11 มีนาคม 56

ข้อสอบ และ เฉลยแบบละเอียด GAT ภาษาอังกฤษ 2552-2555

ครั้งที่ ข้อสอบ เฉลย
1 มีนาคม 52
2 กรกฎาคม 52
3 ตุลาคม 52
4 มีนาคม 53
5 กรกฎาคม 53
6 ตุลาคม 53
7 มีนาคม 54
8 ตุลาคม 54
9 มีนาคม 55
10 ตุลาคม 55

GAT ภาษาอังกฤษ 2552-2555
File นี้รวบรวมโดยคุณ Ssj Jobbism +  นาย ณัฐสรณ์ เส็งเฮ้า +PluppyPoomy Pk + Boonchuay Pataralertsiri

สำหรับเฉลยข้อสอบ  ขอข้อบคุณ Enconcept

Download >> http://pics.unigang.com/all//gateng.rar

กลุ่ม Facebook ภาษาอังกฤษ  http://www.facebook.com/groups/HighSchoolEnglish/

ข้อสอบและเฉลย วิชาสามัญ 7 วิชา 2555,2556

น้องๆสามารถโหลดข้อสอบเพื่อสำหรับให้ทำกันได้เลยนะครับ มีเฉลยให้พร้อม โดย สามารถคำคะแนนสอบไปยื่นรับตรง จุฬา มหิดล กสพท ศิลปากร มธ  และอีกหลายสถาบัน ใครมีของปี 2556 มาแบ่งกันมานะครับ

อ่านเพิ่มเติม

#รับตรง #ทุน โครงการนักเรียนที่มีผลการเรียนดีเลิศและโครงการคัดเลือกตรงโดยสถาบัน สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษา 2557

#รับตรง #ทุน โครงการนักเ
อ่านเพิ่มเติม